อัพเดทล่าสุด

Business-sl-s
news_teletravailler
coffee_saves_teletravailler-sl
Business-sl
teletravailler-Imported bicycle-sl
Home » เมนูอาหาร » รีวิวขนมเค้กในกระบอกไม้ไผ่

รีวิวขนมเค้กในกระบอกไม้ไผ่

เรียกได้ว่าเป็นขมีการปรากฎเป็นข่าวอยู่ในสำนักพิมพ์ต่างๆ ถึงข่าวไอเดียสุดบรรเจิดของสาวชาวกระเหรี่ยง จากอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ที่มีการประยุกต์นำเอาขนมหวานของชาวต่างชาติ อย่างเค้กมาใส่ไว้ในไม่ไผ่แล้วตกแต่งเป็นรสชาติต่างๆ สร้างความฮือฮาให้กับลูกค้า จนขายดีเป็นเทน้ำเทท่า วันนี้เราจึงอยากมารีวิวขนมเค้กในกระบอกไม่ไผ่ให้คุณได้รู้จักเหมือนได้เดินทางไปชิมด้วยตนเอง

จุดเริ่มต้นกว่าจะมาเป็นขนมเค้กในกระบอกไม่ไผ่

ขนมเค้กในกระบอกไม่ไผ่ ภายใต้ชื่อแบรนด์ “พุงพลุ้ย” เกิดมาจาก คุณ วรกานต์ อิงคุทา ซึ่งเป็นผู้ที่มีความถนัดและความสามารถในการทำขนมเบเกอรี่ โดยได้รับการฝึกอบรมมาเมื่อครั้งทำงานอยู่ที่จังหวัดชลบุรี เมื่อกลับมาทำงานที่บ้าน ในอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรีโดยการขับรถรับ – ส่งนักเรียน ก็อยากจะหารายได้เสริม โดยใช้ความสามารถที่ตนเองมี จึงนึกถึงธุรกิจเบเกอรี่ อย่างเค้กที่ตนเองถนัดมากที่สุด แต่ต้องการให้สินค้าของตนเองมีความแตกต่างจากเบเกอรี่ทั่วไป จึงได้คิดถึงสิ่งที่อยู่รอบตัว บนพื้นฐานแนวคิดที่ว่า “เมื่อเราอยู่ในป่า แล้วจะนำป่าเข้าเมืองได้อย่างไร” เนื่องจากบ้านของคุณวรกานต์ ค่อนข้างอยู่ห่างจากตัวเมืองสวนผึ้ง ปรากฎว่าไม่ไผ่เป็นสิ่งที่หาได้ง่ายในชุมชนและในบ้านของตนเอง จึงได้เกิดความคิดลองทำเค้กในกระบอกไม่ไผ่ขึ้นมา

ไม้ไผ่ทั่วไปไม่ได้ ต้องเป็นไม่ไผ่นวลเท่านั้น

คุณวรกานต์ อิงคุทา กล่าวว่าในตอนเริ่มต้นได้ทดลองใช้ไม่ไผ่หลายชนิด แต่ชนิดที่กีที่สุดคือไม่ไผ่นวล เนื่องจากสามารถทนความร้อนได้ดี เนื้อบาง มีกลิ่นหอม เมื่ออบแล้วเค้กไม่เสียรสชาติ นอกจากนี้ ยังเสริมอาหารได้ด้วยเนื่องจากขุยไม่ไผ่ให้คุณค่าทางอาหารเป็นอย่างดี

ลักษณะของขนมเค้กในกระบอกไม่ไผ่ของแบรนด์พุงพลุ้ย

ณ ขณะนี้เค้กไม้ไผ่มีการตกแต่งหน้าด้วย ครีม คุ๊กกี้ ช็อคโกแลต สตอร์เบอรี่สด และ สตอร์เบอรี่เชื่อม นอกจากนี้ยังมีหน้าฝอยทองให้ลูกค้าได้เลือก หากชอบรสชาติแบบไทยๆ โดยมีอายุในการเก็บได้เพียง 5 วัน เนื่องจากทำมาจากวัตถุดิบที่คัดเลือกให้สดใหม่ และไม่ใส่สารกันเสีย ต้องเก็บไว้ในตู้เย็นเท่านั้น

หากสนใจสามารถซื้อได้จากที่ใดบ้าง

ณ ขณะนี้เนื่องจากยังมีข้อจำกัดในส่วนของไม่ไผ่จึงสามารถผลิตได้เพียงวันละ 200 กระบอก โดยผ่านการจัดส่งไปขายที่ ร้านกาแฟในอำเภอสวนผึ้ง และวันเสาร์ อาทิตย์ที่ถนนคนเดินหน้าอำเภอสวนผึ้ง ไม่มีหน้าร้านจำหน่าย ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงธุรกิจแนวใหม่ ที่ไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้านก็สามารถสำเร็จได้ ณ ขณะนี้ ได้ขึ้นทะเบียนเป็นสินค้าโอทอปของจังหวัดราชบุรีแล้วเรียบร้อย และกำลังทำเรื่องในการจดสิทธิบัตรอาหาร นับว่าเป็นหนึ่งในความภาคภูมิใจของการนำภูมิปัญญาไทยมาใช้

Business-sl