ธุรกิจความงามและสุขภาพจัดว่าเป็นตลาดที่เป็นบ่อทองคำ น่าจับตามองอยู่เสมอเนื่องจากคงไม่มีผู้ใดที่จะปฏิเสธว่าไม่ต้องการสุขภาพดีและดูอ่อนเยาว์กว่าวัย ส่งผลให้ตลาดเครื่องสำอางค์ของไทยนั้น มีขนาดให้ที่สุดในอาเซียนที่ 30% สำรวจโดยสถาบันวิจัยและสำรวจภาวะธุรกิจ Yano Research Institute ของประเทศญี่ปุ่น วันนี้เรามาทำความรู้จักกับธุรกิจความงาม และสุขภาพกันว่าเหตุใดจึงจัดว่าเป็นบ่อทองคำที่ยังอุดมสมบูรณ์
ขอบเขตของธุรกิจความงามและสุขภาพ
หากกล่าวถึงขอบเขตของธุรกิจความงาม และสุขภาพนั้นก็เปรียบได้กับจักรวาลหนึ่งที่มีกาแล็คซี่เป็นประเภทต่างๆของธุรกิจ และมีแบรนด์ต่างๆ เปรียบเสมือนดาวเคราะห์โคจรอยู่ในกาแล๊คซี่นั้นๆ ซึ่งจักรวาลนี้คลอมคลุมตั้งแต่
- อาหารคลีน
หลักใหญ่ใจความของอาหารประเภทนี้คือ เน้นอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ และไม่ปนเปื้อนสารเคมีใดใดทั้งนั้น จึงได้มีการออกธุรกิจอาหารคลีน Delivery ออกมามากมาย หรือแม้กระทั่งร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven ก็ยังมิวายเพิ่มตัวเลือกให้ลูกค้าในร้านอีกด้วย
- อาหารเสริมภายในและอาหารเสริมจากภายนอก
อาหารเสริมภายในหมายถึง กลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบำรุงร่างกาย ซึ่งมีการสร้างสรรค์จากสารพัดวัตถุดิบใหม่ๆมาให้ลูกค้าได้เลือกสรร รวมไปถึงวิตามินบำรุงร่างกาย โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย
อาหารเสริมจากภายนอก หมายถึง กลุ่มเครื่องสำอางค์บำรุงผิวพรรณ และ เครื่องสำอางค์แต่งหน้า ที่มีการแข่งขันออกมามากมาย โดยข้อมูลจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ระบุว่า ตลาดในไทยมูลค่าตลาดสูงถึง 1.2 แสนล้านบาท
- Health Care สปา และการบำบัดต่างๆ และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ คือรูปแบบหนึ่งของการท่องเที่ยวเชิงบำบัดรักษาสุขภาพ โดยการเดินทางไปชมธรรมชาต ณ ที่แห่งนั้น แต่แบ่งเวลาบางส่วนมารักษาหรือฟื้นฟูสภาพร่างกายในโรงพยาบาล หรือสถายพยาบาลที่มีคุณภาพ
- สถานที่ออกกำลังกาย
มีการเกิดของโรงยิมไซส์เล็กที่มีไว้เพื่อบริการผู้ที่อยู่ในชุมชน ใกล้บ้าน มีผู้มาใช้บริการไม่พลุกพล่าน และใช้เงินลงทุนไม่สูงมากนัก เกิดขึ้นมากมาย อย่างเช่นต้นแบบแฟรนไชส์เกตฟิต (Get Fit)
โอกาสในการเติบโตของตลาดธุรกิจสุขภาพและความงาม
ดร. พิมพ์ขวัญ บุญจิตต์พิมล เจ้าของธุรกิจความงามชื่อ Virtal Glow: Skin&Aesthetic ภายใต้โรงพยาบาลนวมินทร์ 9 ได้กล่าวว่า ธุรกิจความงามคือ ธุรกิจที่สร้างผลตอบแทนให้แก่ผู้ประกอบการไม่น้อยเลย โดยมีการประมาณการทั่วโลกในปี 2560 นี้ว่าจะมีมูลค่าสูงถึง 2.65 แสนล้านดอลลาร์ โดยในประเทศไทยจะมีมูลค่าสูงกว่า 2 หมื่นล้านบาทในปี 2560 ซึ่งหมายความว่าจะมีความต้องการวัตถุดิบเพื่อความงามจากภูมิภาคเอเชียซิฟิกเพิ่มสูงขึ้น และยังเป็นการสะท้อนถึงความสะพรั่งของธุรกิจนี้อีกด้วย